tel     055871672 , 055-871671    mail   beunghos@gmail.com  

Manu-thai

Menu
ยอมรับคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัว

โรงพยาบาลบึงสามัคคี จะนำข้อมูลที่ “คุกกี้” ได้บันทึกหรือเก็บรวบรวมไว้ ไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของ โรงพยาบาลบึงสามัคคี

หน้าหลัก-th

หน้าหลัก-th (4)

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ รพ.บึงสามัคคี

วิสัยทัศน์ (Vision)                                                                                                   

ประชาชนสุขภาพดี ระบบบริการมีมาตรฐาน ผู้ให้และผู้รับบริการมีความสุข

  • เป้าหมาย (Ultimate Goal) :

  • ประชาชนสุขภาพดี

    : ประชาชนอำเภอบึงสามัคคีในกลุ่มปกติ ไม่เสี่ยง/ป่วย ,กลุ่มเสี่ยงไม่ป่วย 
    และกลุ่มป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม  และมีอายุขัยเฉลี่ย > 80 ปี
  • ระบบบริการมีมาตรฐาน

    : หน่วยบริการมีการพัฒนาตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และมีผลลัพธ์ที่ดีใน
    การพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ได้ตามมาตรฐาน 
  • ผู้ให้และผู้รับบริการมีความสุข

    : ผู้รับบริการมีความเชื่อมั่น ศรัทธา พึงพอใจ ไว้วางใจต่อระบบบริการสุขภาพ และบุคลากรเป็นเลิศ
  • เก่ง หมายถึง มีความรู้และสมรรถนะในการให้บริการได้ตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างปลอดภัย
  • ดี หมายถึง มีการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ตามค่านิยม (Core Value) ขององค์กร
  • มีสุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข

 

  • พันธกิจ ( Mission)  เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์

  1. ให้การดูแลผู้รับบริการแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
  2. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการดูแลสุขภาพประชาชน
  3. บริหารอัตรากาลังและพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรมีความสุข
  4. บริหารจัดการทรัพยากรของโรงพยาบาล ให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมมาภิบาล

  • ค่านิยม (Core value) “รับผิดชอบ มีวินัย ยึดมั่นในการบริการ”

ร = รับผิดชอบ 
ว = วินัย
ย = ยึดมั่นในการยริการ

ค่านิยมHAI core valuesExpected behaviors
รับผิดชอบsocial Responsibility and Community Healthyหมายถึง ความรับผิดชอบต่อองค์กร โดยการปฏิบัติงานที่ดีตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จะช่วยให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาผู้รับบริการ
มีวินัยSystem Perspectiveหมายถึง การดำเนินการในระบบคุณภาพ โดยมุ่งเน้นที่ 3 P คือตั้งเป้าประสงค์ไว้อย่างไร (Purpose) และออกแบบกระบวนการอย่างไรเพื่อให้ไปสู่เป้าประสงค์ (Process) โดยมีความมุ่งมั่นในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ยึดถือเป้าหมายและความสำเร็จขององค์กรเป็นหลัก
ยึดมั่นในการบริการPatient Focus Excellence
Agility
หมายถึง หลักในการทำงานโดยการยึดคนไข้หรือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีการปรับตัว/ ยืดหยุ่น / ตอบสนองต่อผู้ป่วยและผู้รับบริการ

 

 ประเด็นยุทธศาสตร์(Strategic Issues)

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion Prevention & Protection Excellence)
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริการสู่ความเป็นเลิศภายใต้การบริหารเชิงนวัตกรรม (Services Excellence via Innovation Based)
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence and Quality of Work-life)
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล (Good Governance Excellence)
  • วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives)

  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
    โดยมีระบบตอบสนองต่อภัยสุขภาพต่างๆตลอดจนมีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่งผลให้อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
  2. เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพครอบคลุมทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้าของผู้รับบริการในด้านการแพทย์และสาธารณสุข
    รวมทั้งมีระบบการส่งต่อที่มีคุณภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน
  3. เพื่อบริหารอัตรากาลังและพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรมีความสุข และทำงานอย่างปลอดภัย
  4. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล
  5. ความสำเร็จจากการผ่านการรับรองคุณภาพสร้างคุณค่าเพิ่มต่อประชาชนของเครือข่ายบริการสุขภาพ
    ข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
  6. มีการควบคุมรายจ่าย มีการกำกับติดตามผลการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังอย่างสม่ำเสมอ สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา
  7. บุคลากรส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้น มีความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดระบบการจัดการความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้ง่าย
  8. มีคลินิกเฉพาะโรคพร้อมบุคลากรทางการพยาบาลที่ได้รับการพัฒนาในด้านนั้นๆเปิดให้บริการในโรงพยาบาลได้แก่ คลินิกโรคเรื้อรัง(เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
    หอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง) คลินิกวาร์ฟาริน คลินิกให้คำปรึกษาและคลินิกส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่ม
    โรคสำคัญของรพ.ให้ได้รับบริการและการดูแลที่มีคุณภาพและปลอดภัย
  9. ที่ตั้งของโรงพยาบาลอยู่ในบริเวณสิ่งแวดล้อมที่สะอาดไม่มีมลพิษ อาคารสถานที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมสุขภาพ และมีบรรยากาศในการทำงานที่ดี

    ความท้าทายเชิงกลยุทธ์

    พัฒนาคุณภาพการให้บริการในกลุ่มโรคโรคและภัยสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่
    โรคที่มีภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ ACS Stroke และ Sepsis
    • โรคติดต่อ อุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ ได้แก่ TB และ COVID -19
    • โรคไม่ติดต่อและภัยสุขภาพ ได้แก่ RTI DM HT CKD และโรคมะเร็ง
      อัตรากำลังคนไม่เพียงพอกับภาระงาน บุคลากรด้านสุขภาพขาดทักษะ การสร้างความผูกพัน และการสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร
      การส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มวัยผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น อัตราเกิดลดลง เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society)
      การบริหารจัดการทรัพยากรภายใต้ข้อจำกัดและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกปัจจุบันและอนาคตในยุค Digital tech transformation

      โอกาสเชิงกลยุทธ์

    1. สปสช.เขต 3 สนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาพื้นที่ และมีกองทุนสุขภาพท้องถิ่นที่พร้อมให้การสนับสนุนด้าน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน และพชอ.สนับสนุนการแก้ไขปัญหา
    2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและIT สามารถนำมาใช้เพื่อสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบบริการและการจัดการความรู้ได้
    3. นโยบายของรัฐบาลที่ส่งผล/ผลักดันให้การดำเนินงานมีคุณภาพมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ได้แก่ นโยบาย THAILAND 4.0 Service Plan รพสต.ติดดาว , GREEN AND CLEAN , ER คุณภาพ , QA ฯลฯ
    4. นโยบายและมาตรฐานการจัดการภาครัฐของรัฐบาลที่ส่งผล/ผลักดันให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ได้แก่ มาตรฐานการควบคุมภายใน มาตรฐาน ITA มาตรฐาน FAI นโยบายโรงพยาบาลคุณธรรม
    5. การใช้สื่อออนไลน์ทั้งในกลุ่มผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และชุมชนที่เพิ่มมากขึ้น

     

     ความสามารถเฉพาะขององค์กร (core competency) :

    1. บริการสุขภาพด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
    2. โรงพยาบาลแม่ข่าย ส่งเสริมสนับสนุนและประสานการพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิและเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ

     จุดเน้นและเข็มมุ่ง (Key Focus Area)

    1. ลดการเกิดโรครายใหม่ ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราตายในโรคสำคัญเพื่อเพิ่มอายุขัยเฉลี่ย
    2. 3P Safety ( Patient, Personal and People Safety )สร้างความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ
    3. Smart personnel เสริมสร้างบุคลากรให้เก่ง ดี มีสุข

      เข็มมุ่ง ปี2566

    1. เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย 5 กลุ่มโรค ได้แก่ NCD Stroke STIMI Sepsis และ Cancer
    2. นำมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัยทั้งหมด 9 ข้อ ลงสู่การปฏิบัติ
    • การผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง ผิดตำแหน่ง ผิดหัตถการ
    • การติดเชื้อที่สำคัญตามบริบทขององค์กรในกลุ่ม SSI, VAP, CAUTI, CABSI
    • บุคลากรติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่
    • การเกิด Medication Errors และ Adverse Drug Event
    • การให้เลือดผิดคน ผิดหมู่ ผิดชนิด
    • การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาด
    • ข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค
    • การรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ /พยาธิวิทยาผิดพลาด
    • การคัดกรองที่ห้องฉุกเฉินคลาดเคลื่อน
    1. เพิ่มศักยภาพในสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรในแต่ละระดับ
    2. นำแนวคิด Lean management มาพัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพ
      วิสัยทัศน์
      ( Vision)
      “ประชาชนสุขภาพดี ระบบบริการมีมาตรฐาน ผู้รับบริการและผู้ให้มีความสุข “
      พันธกิจ
      ( Mision)
      1. ให้การดูแลผู้รับบริการแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
      2. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการดูแลสุขภาพประชาชน
      3.บริหารอัตรากำลังและพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรมีความสุขและปลอดภัย4. บริหารจัดการทรัพยากรของโรงพยาบาล ให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมมาภิบาล
      ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion Prevention & Protection Excellence)ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริการสู่ความเป็นเลิศภายใต้การบริหารเชิงนวัตกรรม (Services Excellence via Innovation Based)ยุทธศาสตร์ที่ 3 บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence and Quality of Work-life)ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและมีธรรมมาภิบาล (Good Governance Excellence)5. ความสำเร็จจากการผ่านการรับรองคุณภาพสร้างคุณค่าต่อประชาชนของเครือข่ายบริการสุขภาพ
      เป้าประสงค์ (Goal )1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดี ตลอดจนมีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส่งผลให้อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น2. เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพครอบคลุมทั่วถึงตามความจำเป็นของพื้นที่ได้อย่างมีมาตรฐาน3. เพื่อบริหารอัตรากำลังและพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรมีความสุข และทำงานอย่างปลอดภัย4. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล5. ความสำเร็จจากการผ่านการรับรองคุณภาพสร้างคุณค่าต่อประชาชนของเครือข่ายบริการสุขภาพ
      กลยุทธ์
      (Strategic)
      1. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน2. พัฒนาคุณภาพการให้บริการในกลุ่มโรคสำคัญ
      3. พัฒนาคุณภาพความปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ (3P safety)
      4. เสริมสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขภายใต้การขับเคลื่อนด้วยค่านิยมองค์กร
      5. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและเพียงพอในการให้บริการ
      6. บริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพภายใต้หลักธรรมาภิบาล7. พัฒนาระบบงานให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
      8. พัฒนาระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้สวยงามและเอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
Last modified on วันจันทร์, 19 มิถุนายน 2566 13:15

แผนยุทธศาสตร์

  • ทิศทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวง ฯ สู่แผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล

Picture6.png

Picture7

Picture10

                  จากแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขสู่ความเป็นเลิศ  ทั้ง 4 ด้าน

 (4 Excellences) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)  ได้แก่

1) ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ(PP&P Excellence)

2) ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence)

3) ด้านบุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)และ

4) ด้านบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

         ที่ได้วางแผนเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม และการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตเช่น
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรไทย การเปลี่ยนแปลงฐานเศรษฐกิจไปสู่ยุคดิจิทัล การเกิดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ การเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อที่สามารถป้องกันได้
ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติธรรมชาติและภัยก่อการร้าย และเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนย่อยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี  และตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546ประกาศเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546 และพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
ประกาศเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562 มาตรา 16 ระบุให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท
แผนการปฏิรูปประเทศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง

     ดังนั้นโรงพยาบาลบึงสามัคคี จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานในองค์กร
ในการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 

 

 

 

 

 

Last modified on วันอังคาร, 11 เมษายน 2566 13:30

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป

                อำเภอบึงสามัคคีจังหวัดกำแพงเพชรเดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตั้งเป็น กิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2537
ปัจจุบันตั้งเป็นอำเภอ มีเนื้อที่ประมาณ 521 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 93 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่ออำเภอต่างๆ ดังต่อไปนี้

          ทิศเหนือ          ติดอำเภอโพธิ์ประทับช้างและอำเภอสามง่ามจังหวัดพิจิตร

          ทิศตะวันออก  ติดอำเภอโพธิ์ประทับช้างจังหวัดพิจิตรและอำเภอบรรพตพิสัยจังหวัดนครสวรรค์

          ทิศตะวันตก    ติดอำเภอทรายทองวัฒนา และอำเภอคลองขลุงจังหวัดกำแพงเพชร

          ทิศใต้             ติดอำเภอขาณุวรลักษบุรีจังหวัดกำแพงเพชร

-ลักษณะภูมิประเทศ

           เป็นพื้นที่ราบการคมนาคมสะดวกประชาชนมีการประกอบอาชีพทำการเกษตรประเภทสวนส้ม  ,ไร่อ้อยและทำนาเป็นส่วนใหญ่

-ลักษณะภูมิอากาศ

           ลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้นมี  3 ฤดูกาล ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

-วัฒนธรรมประเพณี

          อำเภอบึงสามัคคีประกอบไปด้วยประชากรพื้นที่ดั้งเดิมในบางส่วนประชากรส่วนมากจะเป็นที่ย้ายเข้ามาประกอบอาชีพซึ่งจะเป็นประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวนมาก
แต่ยังคงวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมอยู่อย่างเช่นประเพณีสรงน้ำพระวันสงกรานต์ประเพณีทำบุญกลางบ้านในวันขึ้นปีใหม่ประเพณีทำบุญตักบาตรเทโวในวันออกพรรษาฯลฯ

-การศึกษาและการนับถือศาสนา

          มีโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 16  แห่งโรงเรียนมัธยม  1  แห่งมีวัดและสำนักสงฆ์จำนวน 25 แห่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

 

แผนที่อำเภอบึงสามัคคี

                                รูปภาพแสดง แผนที่อำเภอบึงสามัคคี  จังหวัดกำแพงเพชร

Picture2

ตารางแสดงจำนวนประชากรอำเภอบึงสามัคคี แบ่งตามเพศ และช่วงอายุ

     ที่มา:  HDC  ประชากรตาม 43 แฟ้ม/นำ DBPOP มาปรับปรุง Typearea = 1,3 และ Nation = 099
              วันที่ประมวลผล ::26 พฤศจิกายน 2565

Picture3

ลักษณะโครงสร้างประชากรเป็น ปิรามิดแบบหดตัว (Constrictive Pyramid) มีลักษณะเป็นฐานแคบตรงกลางพองออกและยอดค่อยๆแคบเข้า
แสดงว่าจำนวนคนเกิดและจำนวนคนตายลดลง สัดส่วนเพศหญิงมากกว่าเพศชายประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงาน ( 15 –59 ปี) คิดเป็นร้อยละ 60      
รองลงมาคือกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเด็ก มีร้อยละ 15 และ  25  ตามลำดับ อัตราส่วนการเป็นภาระพึ่งพิงเท่ากับ 40

 

Top 10 Diagnosis (OPD)จำนวนผู้ป่วยข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง
ปี 2563ปี 2564ปี 2565
1I10 : Essential (primary) hypertension9,3858,3608,352
2M4784:Other spondylosis7,6199,4804,590
3E119 : NIDM Without complications6,3306,8787,133
4J209 : Acute bronchitis, unspecified6,1576,7384,086
5A099 : Gastroenteritis and colitis of unspecified origin4,6914,2073,345
6K30 : Dyspepsia2,1551,9781,774
7R42 : Dizziness and giddiness1,8602,0481,632
8L03:Cellulitis1,6851,7131,414
9J03.9: Acute tonsillitis, unspecified1,3561,0761,076
10M179:Arthrosis, Osteoarthritis; OA1,3062,634636

 

Top 10 Diagnosis (IPD)จำนวนผู้ป่วยข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง
ปี 2563ปี 2564ปี 2565
1A099 : Gastroenteritis and colitis of unspecified origin163194149
2E119 : NIDM Without complications95256120
3N390 : Urinary tract infection, site not specified82170104
4J209 : Acute bronchitis, unspecified17025993
5J189 : Pneumonia, unspecified476692
6T793 : Post-traumatic wound infection,828489
7R42 : Dizziness and giddiness10210655
8L03:Cellulitis605854
9K30 : Dyspepsia8211443
10I509, Heart failure, unspecified486742

 

ตำแหน่งจำนวน (คน)
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป4
ทันตแพทย์4
เภสัชกร4
พยาบาลวิชาชีพ (รวมทั้งหมด)35
พยาบาลเทคนิค/อนุปริญญา1
นักกายภาพบำบัด/กิจกรรมบำบัด3
นักเทคนิคการแพทย์/วิทยาศาสตร์การแพทย์3
นักรังสีเทคนิค1
นักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ/โภชนากร2
นักวิชาการสาธารณสุข7

 

  • อัตรากำลัง

Picture4

 

Picture5

Last modified on วันอังคาร, 11 เมษายน 2566 13:17

ประวัติ รพ.

ประวัติโรงพยาบาลบึงสามัคคี

ประวัติ รพ.  ประวัติ รพ.  ประวัติ รพ.

โรงพยาบาลบึงสามัคคีเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ตั้งอยู่เลขที่ 200 หมู่ 7 ตำบลระหาน
อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 62210 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีื้นที่ 33 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา
โทรศัพท์ : 055-871672 แฟกซ์ : 055-871671

 

ประวัติ รพ.  ประวัติ รพ.  ประวัติ รพ.

ข้อมูลพื้นฐาน

อัตรากำลังโรงพยาบาลบึงสามัคคี
ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2560  มีทั้งสิ้น  119  คน เป็นข้าราชการ  38  คน  พนักงานราชการ 3 คน
พนักงานกระทรวงสาธารณสุข  53 คน  ลูกจ้างชั่วคราว 12 คน  ลูกจ้างเหมาบริการ 13 คน

ประวัติ รพ.  ประวัติ รพ.  ประวัติ รพ.

 

Last modified on วันศุกร์, 28 กันยายน 2561 10:05
application head
อสค.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร SMART อสม. สปสช. คู่มือประชาชน G-NEWS รวมโรค สุขที่พ่อสอน สุขแท้ที่แม่ให้ RDU รู้เรื่องยา TVIS : Traffic Voice Information Service BMA Traffic rada
อสค. อสม4.0 สปสช. คู่มือประชาชน  G-news   รวมโรค สุขที่พ่อสอน   สุขแท้ที่แม่ให้ RDU   TVIS  BMA เรดาร์สภาพอากาศ 
cctv road nostra googlemap H4U Tamlab  thaimassage            
สดทางหลวง NOSTRA GoogleMap H4U ยาแผนไทย   สมุนไพรไทย            

 

Go to top
Web site designed by โรงพยาบาลบึงสามัคคี